บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา อินเตอร์เน็ตมนชีวิตประจำวัน (00012006)กลุ่มเรียนที่ 20 วันศุกร์ เวลา 13.00 - 15.30 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์เตะบอล

ที่กลมๆ ดูคล้ายหุ่นกระป๋อง เป็นหุ่นยนต์เตะบอลของทีมพลาสมา ซี สร้างขึ้นโดยนิสิตหลายสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไปคว้าตำแหน่งรองแชมป์โลกมาแล้วที่สหรัฐอเมริกา หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมหุ่นยนต์จึงกลม หัวหน้าทีมพลาสมา ซี อธิบายให้ฟังว่า เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ประเภทขนาดเล็ก (small size) ที่มีการจำกัดส่วนสูง รูปทรงแบบนี้จึงเหมาะสม เพราะวิ่งเร็ว เคลื่อนที่ได้อิสระ ยิงลูกได้แรง ยิงลูกโด่งได้ด้วย ซึ่งเป็นหุ่นยนต์เล็กเตะบอลในรายการแข่งขันที่มีความเร็วสูงสุดของโลก




การแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลที่ผ่านไปเมื่อไม่นานนี้ มีชื่อเต็มว่า “โรโบคัพ ซอคเกอร์ สมอล ไซส์ ลีค” หรือการแข่งขันหุ่นยนต์ขนาดเล็ก จุดประสงค์ของการแข่งขันก็คือ ภายในปี 2050 หรืออีก 43 ปี จะมีการแข่งขันระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์จริงๆ และไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา หากเป็นมนุษย์นักกีฬาระดับแชมป์โลกด้วย การจัดการแข่งขันหุ่นยนต์เตะบอลขึ้นมาก็เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีความสามารถเทียบเคียงกับมนุษย์จริงๆ ซึ่งในการเข้าร่วมแข่งขันนั้น นอกจากทีมพลาสมา ซี จะได้อาจารย์ นิสิต ที่ร่วมกันวางแผนงาน ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการเป็นสปอนเซอร์ เช่น บริษัท ซีเกท บริษัท เอ็มเอฟอีซี เป็นต้น เพื่อทำให้การก้าวสู่เวทีโลกเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา และทีมพลาสมา ซี ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง




สำหรับหุ่นยนต์เตะบอลของทีมพลาสมา ซี เป็นระบบออโตเมติก มิได้บังคับด้วยมนุษย์ หุ่นยนต์วิ่งไปด้วยความคิดของตัวเองว่าต้องวิ่งไปตรงไหน ต้องทำอะไร ความคิดหรือสมองของหุ่นยนต์เกิดจากการกำหนดลักษณะการเล่น หรือเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เมื่อถึงเวลา คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่ถูกเขียน ส่วนกติกาการแข่งขันก็จำลองให้ใกล้เคียงกับการแข่งขันจริง มีทั้งลูกตั้งเตะ ลูกมุม ลูกฟรีคิก ลูกจุดโทษ ฯลฯ




“ระบบการทำงานของหุ่นยนต์เริ่มจาก มีกล้องตัวหนึ่งที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของสนาม ทำหน้าที่รับตำแหน่ง แล้วส่งรายงานไปตามสายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เสมือนดวงตาของหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะประมวลผลตำแหน่ง ทิศทางของหุ่นยนต์ แล้วส่งไประบบคอมพิวเตอร์อีกตัวที่เรียกวิชัน (vision) วิชันส่งไปยังเอไอ (artificial intelligent) ซึ่งเป็นระบบคิด เช่น ในสนาม มีหุ่นยนต์อยู่ในตำแหน่งต่างๆ จะเล่นเกมออกมาในลักษณะใด ตัวนั้นควรวิ่งไปตรงโน้น ตัวนี้ควรเตะลูกบอล ฯลฯ” ตัวแทนของทีมเล่าให้ฟัง


นับเป็นอีกก้าวของเด็กไทยและหุ่นยนต์ไทย ที่ได้ประกาศศักดิ์ศรีได้อย่างสวยงาม ซึ่งขอเป็นกำลังใจเพื่อก้าวต่อไปสำหรับโลกหุ่นยนต์ที่จะไปสู่การแข่งขันด้านการกีฬากับมนุษย์ได้ ถึงเวลานั้นคงน่าสนุกไม่ใช่น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น