บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา อินเตอร์เน็ตมนชีวิตประจำวัน (00012006)กลุ่มเรียนที่ 20 วันศุกร์ เวลา 13.00 - 15.30 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์ดาวินชี่

เมื่อหุ่นยนต์ช่วยชีวิตคน....
เคยได้ยินไหมว่า หุ่นยนต์ผ่าตัดรักษาชีวิตคนได้.......
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวล้ำไปไกล มีอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มากมายมาช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ด้านต่างๆ
อย่างการผ่าตัด เมื่อก่อนต้องอาศัยหมอผู้ชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ คุณหมอเองก็มีตัวช่วยเป็นหุ่นยนต์ในการรักษาคน

ดาวินชี่..เครื่องจักรกลราคาประมาณ 1 ล้านปอนด์

ดาวินชี เป็นเครื่องจักรกลราคาประมาณ 1 ล้านปอนด์ของโรงพยาบาลกายส์ (Guy's Hospital) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นหนึ่งในหุ่นยนต์ผ่าตัดบนเกาะอังกฤษที่มีอยู่เพียง 2 ตัว ได้ปฏิบัติภารกิจครั้งแรกที่แสนละเอียดอ่อน อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยแขนกลทั้ง 2 ข้างนำ ไต ออกจากร่างของพอลลีน เพย์น (Pauline Payne) และนำไปใส่ให้กับเรย์มอนด์ แจ็กสัน (Raymond Jackson) คู่หมั้นของเธอที่กำลังป่วยหนัก ก่อนหน้านี้ หุ่นยนต์ดาวินชีเคยลงมือปฏิบัติการผ่าตัดมาแล้ว บนเกาะอังกฤษ โดยได้เคลื่อนย้ายอวัยวะที่เจ็บป่วยออกมาจากร่างกายและศัลยกรรมกลับคืน แต่การปลูกถ่ายไตนับเป็นของใหม่ ซึ่ง โพรการ์ ดาสกุปตา (Prokar Dasgupta) ผู้นำทีมที่ปรึกษาศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะของโรงพยาบาลกายส์ได้เรียกใช้บริการ ดาวินชี เป็นครั้งแรก และนับว่าเป็นการปลูกถ่ายอวัยวะโดยหุ่นยนต์เป็นครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ

หลายๆคนจะรู้จัก "ดาวินชี่" หรือ "Da Vinci Surgical System" ในนามของ "หุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจ" ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของศัลยแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมการใช้จนเกิดความชำนาญ โดยมีแขนดาวินชี่เปรียบเสมือนมือผ่าตัดที่ต้องอาศัยการควบคุมโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมืองไทยก็มี หมอหุ่นยนต์..ดาวินชี่

ในโรงพยาบาลหลายแห่งมีการนำหุ่นยนต์ดาวินชี่ไปใช้ในกระบวนการผ่าตัดรักษาคนไข้ ซึ่งโรงพยาบาลในเมืองไทยก็ไม่ล้าหลังกว่าใครเขา มีการเอาเข้ามาใช้แล้วเหมือนกันครับ เช่น โรงพยาบาลศิริราช นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรงพยาบาลกรุงเทพใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัดหัวใจ
นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ เล่าให้ฟังว่า ทางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์ดาวินชี่เข้ามาช่วยในการผ่าตัดหัวใจผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางโรงพยาบาลเริ่มใช้ "ดาวินชี่" เข้ามาช่วยในการผ่าตัดหัวใจผู้ป่วย ซึ่งหุ่นยนต์นี้มีข้อดีทำให้สะดวก และ ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
"การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ทำให้ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยและลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด รวมทั้งสามารถลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด สามารถรับประทานอาหารได้ในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตเป็นปกติและพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเป็นเวลา ประมาณ 5 วัน ก็สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านต่อได้”
หุ่นยนต์ดาวินชี่..ไม่ใช่แค่ผ่าตัดหัวใจยังสามารถใช้ประโยชน์ในการผ่าตัดช่องท้องในโรคที่เกิดกับอวัยวะภายในหลายๆ ส่วน เช่น ถุงน้ำดี ลำไส้ กระเพาะ ต่อมหมวกไตและต่อมลูกหมาก ซึ่งนพ.ชาตรี ดวงเนตรได้กล่าวว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำความเข้าใจและให้ข้อมูลก่อนการผ่าตัดมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรู้และมีโอกาสเลือกวิธีการผ่าตัดตามความเห็นชอบด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ดาวินชี่อาจสูงกว่าการผ่าตัดแบบปกติบ้างเล็กน้อย แต่จะช่วยผู้ป่วยลดค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดได้มาก เช่น ใช้ยาน้อยลง จำนวนวันที่พักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้วก็ไม่สูงกว่ากัน

หลักการทำงานและส่วนประกอบต่างๆของหุ่นยนต์ดาวินชี่

หุ่นยนต์ดาวินชี่ ประกอบด้วย 4 แขน แต่ละแขนมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.5 เซนติเมตรแขนที่ 1 เป็นกล้องสำหรับส่องเข้าไปเห็นภายในระบบหัวใจได้ลึกและชัดเจน ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นหัวใจของผู้ป่วยผ่านแขนข้างนี้ ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการผ่าตัด โดยสั่งการการเคลื่อนไหวหุ่นยนต์จากแผงควบคุมภายนอก ซึ่งควบคุมแขนอีก 3 แขนที่เหลือที่ทำหน้าที่เป็นคีม และกรรไกรขนาดจิ๋วที่หมุนได้รอบ ทิศทาง ทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างแม่นยำกว่ามือคน

MicroPets-i หุ่นยนต์จิ๋วร้องเพลงประสานเสียง


Tomy ผู้ผลิตของเล่นแดนปลาดิบโชว์ตัวหุ่นยนต์จิ๋วน่ารัก ที่สามารถร้องเพลงประสานเสียงกับหุ่นยนต์ตัวอื่นได้!!…หุ่นยนต์น่ารักรุ่นนี้ใช้ชื่อว่า MicroPets-i มีความยาวเพียง 6 เซนติเมตร วางจำหน่ายหลากหลายแบบทั้งสุนัข แมว หมี แพนด้า ฯลฯ จุดเด่นของ MicroPets-i คือการฝังเซนเซอร์ไว้ภายในเพื่อให้หุ่นสามารถเดินตามสิ่งของ หรือหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้ ที่สำคัญ MicroPets-i ยังสามารถสื่อสารกับหุ่นยนต์ตัวอื่นได้ผ่านเครือข่ายอินฟราเรด และสามารถร้องเพลงประสานเสียงร่วมกันได้ด้วย

COOKY ROBOTS หุ่นยนต์ช่วยทำอาหาร

ผลงานโดยคุณ Yuta Sugiura บัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัย Keio (เคโอ)
ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยของ JST (Japan Science and Technology Agency)
แผนก ERATO (Exploratory Research for Advanced Technology)

ใช้หุ่นยนต์เล็ก 3 ตัว ช่วยกันทำตัวละหน้าที่ อาจดูวุ่นๆ นิดหน่อย
มีจุดเด่น คือ ทำอาหารได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องมีการควบคุมพิเศษ
แต่ต้องนำอาหารที่กำหนดมาวางในจุดที่กำหนด และสั่งงานหุ่นยนต์ให้ทำงานตาม Timeline
[คล้ายๆ เวลาสั่งวัตถุให้ขยับในโปรแกรมทำ Presentation น่ะ]

งานนี้ถือเป็นการพัฒนาไปอีกขั้น สำหรับการนำหุ่นยนต์มาช่วยงานมนุษย์
แล้ววันนึงในอนาคต หุ่นยนต์ช่วยงานบ้านแบบในภาพยนตร์ Sci-fi จะต้องเป็นจริง!!
[อ่านบรรทัดบนนี้ ต้องทำเสียงมุ่งมั่นด้วยนะ]

แต่อนาคตก็เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง..
ดังนั้น ณ ปัจจุบัน ทาโกะว่าฝึกทำอาหารเองสักเล็กน้อย
จะง่าย และเร็วกว่ามานั่งสั่งหุ่นยนต์ให้ทำแบบนี้เยอะเลย
แถมได้อาหารทีมีรสชาติถูกปากคนทานมากกว่าด้วยนะ

Murata หุ่นยนต์นักปั่น


Murata (Seisaku-kun) เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกในโลกที่สามารถขี่จักรยานได้ โดยทางผู้สร้าง Murata Manufacturing ได้ออกแบบติดตั้งเซนเซอร์ถึงสี่แบบให้กับหุ่นยนต์ตัวนี้ได้แก่ Gyro เซนเซอร์สองจุดเพื่อตรวจสอบทิศทาง-ความเร็ว-ความเอียง, เซนเซอร์ Ultrasonic สำหรับตรวจจับสิ่งกีดขวาง และ เซนเซอร์ Shock ที่จะคอยสำรวจความขรุขระของพื้นผิว


หุ่นยนต์ Murata เชื่อมต่อสัญญาณกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญญาณไร้สาย (Wireless LAN) เพื่อให้ผู้บังคับสามารถสั่งการให้หุ่นยนต์ทำการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า, หยุด หรือถอยหลัง และนอกจากนั้นยังสามารถทำการโปรแกรมเส้นทางล่วงหน้าได้ด้วย

Murata เป็นหุ่นยนต์ที่มีความสูง 2 ฟุต หนัก 5 กิโล สามารถปั่นได้ความเร็วสูงสุดถึง 30 นิ้วต่อวินาที รวมถึงสามารถทรงตัวได้ดีแม้ในขนาดหยุดนิ่งอยู่กับที่, ในการทดลอง Murata สามารถทรงตัวตรงๆ ได้อย่างดีเยี่ยม โดยสามารถปั่นจักรยานอยู่บนทางที่กว้างเพียง 2 เซนติเมตรโดยไม่ตกลงมาเลย

หุ่นยนต์รถเข็นพาผู้ป่วยเคลื่อนที่

คัตสุกิวาตานาเบ ประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า หุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักของโตโยต้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากญี่ปุ่นรายนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๓ หุ่นยนต์ภาคสนามมากมายจะถูกผลิตออกมาช่วยงานตามโรงงาน บ้านเรือนและในเมือง และปีหน้าโตโยต้ายังมีแผนทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในโรงพยาบาล และโรงงานของโตโยต้าเอง รวมถึงสถานที่ หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานในโรงงานมานานแล้ วเช่น ใช้เชื่อม และใช้ประกอบชิ้นส่วนตามสายพานการผลิต ขณะที่หุ่นยนต์เหล่านี้ยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่ในอนาคตหุ่นยนต์จะทำงานช่วยเหลือมนุษย์อย่างเป็นอิสระ

หนึ่งในหุ่นยนต์ที่โตโยต้านำมาโชว์เมื่อสัปดาห์ก่อนเป็น หุ่นยนต์สองล้อที่ออกแบบคล้ายรถเข็นคนป่วยสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว ๒๐ กม./ชม. สามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ขรุขระหรือเป็นเนินขึ้นลงโดยทรงตัวเองได้อัตโนมัติ เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับพบสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า มันจะวิ่งอ้อมไปอีกด้านทันที หุ่นยนต์แบบนี้สามารถพาผู้ป่วย และคนชราไปยังเตียงนอนได้โดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย หุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งที่นำมาโชว์ความสามารถเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ขนาด ๕ ฟุต นอกจากสีไวโอลินได้แล้วมันยังโยกตัวเคลื่อนไหว มีอารมณ์ร่วม ไปกับการบรรเลง (คม ชัด ลึกออนไลน์ ๑๔ ธค.๒๕๕๐ )

หุ่นยนต์ ดูแลเด็กๆ “พา เพ โร่”

หุ่นยนต์ ที่เห็นในภาพนี้ เอาไว้สำหรับให้ผู้ปกครองดูแลลูกหลาน ในโรงเรียนอนุบาล
ผู้ปกครองจะมี “พา เพ โร่” ไว้เพื่อดูแลเด็กๆ ไม่ให้คลาดสายตา และจะส่งข้อความผ่านมือถือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เจ้า “พา เพ โร่” ตัวอวบอ้วนกะปุ๊กลุก มีความสูง 38.5 เซนติเมตร และสามารถเคลื่อนไหวได้ไกล 20 เซนติเมตร ต่อวินาที

“พา เพ โร่” เป็นหุ่นยนต์ของบริษัทเอ็นอีซี บริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น จับมือกับบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อย่างเอ็นทีที และจะเริ่มทดลองกับโรงเรียนเด็กเล็กแรกเริ่ม ในโตเกียวและยามานาชิก่อนเป็นการนำร่อง.




เห็นแล้ว อยากมีไว้ดูแลเด็กๆ สักตัวไหมคะ หน้าตาหุ่น น่ารัก คล้ายๆเด็กๆดีนะคะ :)

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร

นอกจากบุกเบิกนำพีดีเอมารับออเดอร์ลูกค้าแล้วสุกี้เอ็มเค ยังมีแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์บริการมาช่วยสร้างบรรยากาศภายในร้านด้วย

หุ่นยนต์อัจฉริยะตัวนี้มีชื่อว่า "ดินสอ" อยู่ระหว่างซุ่มพัฒนาโดยบริษัท ซีที เอเซีย จำกัด กลุ่มธุรกิจด้านการพัฒนาระบบสื่อสารและซอฟต์แวร์น้องใหม่ ที่หันมาเอาดีด้านการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ โดยใช้ทีมวิศวกรไทยล้วนๆ


นายนันทวิทย์ จันทร์วาววาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดบริษัท ซีที เอเซีย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเริ่มต้นพัฒนาหุ่นยนต์บริการขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำประสบการณ์จากการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในงานสื่อสารโทรคมนาคม ผนวกกับความเชี่ยวชาญของทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เคยประสบความสำเร็จในการพัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยแข่งขันในระดับโลก มาออกแบบและสร้างหุ่นยนต์บริการชื่อไทยๆ ว่า "ดินสอ"


หุ่นยนต์ดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับหน้าร้านอาหาร ช่วยเสิร์ฟอาหาร ตลอดจนเป็นบริกรยกถาดอาหารไปเสิร์ฟให้แก่ลูกค้า โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบส่วนฐานของหุ่นยนต์ จากเดิมที่พัฒนาขาหุ่นยนต์ในรูปของสายพาน ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีในทุกสภาพพื้นผิว มาเป็นล้อหมุนที่สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่แม้อยู่ในพื้นที่ที่คับแคบ พร้อมติดเซนเซอร์ ช่วยคำนวณองศา มุม เพิ่มหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง โดยคาดว่าจะสามารถพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ดินสอได้ในเดือนมิถุนายนนี้


"แม้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นจะยังไม่เทียบเท่าหุ่นยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และมีต้นทุนในการวิจัยสูงกว่า แต่ส่วนตัวมองกว่าเรามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นกลไกหลักในการควบคุมหุ่นยนต์ และคิดว่าไม่เป็นรองใคร" นันทวิทย์ กล่าว


ในทางเทคนิค หุ่นยนต์จะประกอบด้วยเซนเซอร์ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณต่าง เช่น เสียง แสง ภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า นำไปประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานคล้ายสมองของมนุษย์ ส่วนระบบกลไกควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การหมุน การเลื่อน การกระโดด


"พวกอะไหล่และเทคโนโลยีที่ใส่เข้าไปในตัวหุ่นยนต์ยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เซนเซอร์ที่มีความแม่นยำสูง หรือหน้าจอสัมผัสที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าตัวหุ่น ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูง แต่ในอนาคตเชื่อว่าหากมีการใช้งานมากขึ้น จะทำให้ราคาต้นทุนถูกลง อีกทั้งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองได้หากมีการเริ่มต้น" เขากล่าว


บริษัทยังมีแผนจะลงทุนในการพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ดินสอ ออกสู่ตลาดในไตรมาสแรกของปี 2553 โดยส่งสินค้าที่เป็นหุ่นยนต์บริการให้แก่กลุ่มตลาดร้านอาหารเอ็มเค บาร์บีคิว พลาซ่า ซึ่งมีการพูดคุยไปแล้วบางส่วน ตลอดจนใช้หุ่นยนต์ในการประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อโฆษณาที่เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างความน่าสนใจให้แก่ตัวสินค้า โดยคาดว่าราคาขายจะอยู่ที่ตัวละ 3 ล้านบาท



นายพันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้ประสานงานโครงการจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หุ่นยนต์ที่สามารถสื่อสารและโต้ตอบกับมนุษย์ จะเป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยสร้างความแปลกใหม่และดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นในประเทศญี่ปุ่นที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทนี้มากขึ้นเช่นกัน


สำหรับโครงการดังกล่าว สนช. ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่บริษัท ซีที เอเชีย จำกัด ภายใต้โครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน จำนวนเงินไม่เกิน 1,082,000 บาท สำหรับมูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ 3,279,000 บาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเคลื่อนที่ด้วยระบบนำร่องที่อาศัยการประมวลผลภาพ การใช้ระบบควบคุมและการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย พร้อมทั้งอาศัยการเรียนรู้แบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเข้าใจภาษาและแสดงท่าทางตลอดจนสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้

หุ่นยนต์ทอดไข่

หุ่นยนต์ที่มีโปรแกรมที่เกี่ยวกับอาหารและครัว ได้รับการเปิดตัวที่งาน เทคโนโลยี และเครื่องจักร อาหาร นานาชาติในกรุงโตเกียวเมื่อวานนี้ ตัวหนึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่าโอโกโนมิยากิ นำเสนอโดยบริษัท โตโย ริกิ ที่มีสำนักงานอยู่ในนครโอซาก้า มันแสดงความสามารถในการทำแพนเค้ก โอโกโนมิยากิ แสนอร่อยได้ด้วยแขนทั้งสองข้างที่มีนิ้วและมือที่ติดตั้งอุปกรณ์ขับเคลื่อนจำนวน 15 ตัว




หุ่นยนต์พ่อครัวตัวนี้มีขนาดเท่ากับมนุษย์ มันสามารถผสมแป้ง เทน้ำมันลงบนกระทะ และพลิกกลับแพนเค้กตอนที่มันสุกได้ที่ นอกจากนี้มันยังสามารถสื่อสารด้วยการถามผู้ชมด้วยว่า ต้องการให้ราดมายองเนสลงบนแพนเค้กด้วยหรือไม่ แต่จุดอ่อนของมันคือไม่สามารถทำงานได้หากอุปกรณ์และเครื่องปรุงทุกชนิดวางผิดไปจากตำแหน่งที่กำหนดไว้

และแม้หุ่นยนต์ตัวนี้ซึ่งมีสนนราคา 1 แสน 8 หมื่นดอลลาร์ หรือราว 6 ล้าน 3 แสนบาท จะได้รับความสนใจอย่างมากจากลูกค้า แต่ทางบริษัทบอกว่ายังไม่มีแผนที่จะผลิตวางจำหน่ายในตลาด

นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์โต๊ะที่ทรงตัวได้ด้วยล้อสองข้าง ที่นำมาแสดงโดยบริษัท ลักสมิด (Laksmid)ที่มีสำนักงานในนครเกียวโต ความพิเศษของมันคือเคลื่อนที่ได้อย่างนุ่มนวลสามารถบรรทุกน้ำและอาหารเคลื่อนที่ด้วยความเร็วโดยที่น้ำและอาหารไม่หก และหุ่นยนต์ตัวนี้ก็ยังไม่มีแผนวางจำหน่ายในตลาดเช่นกัน

และยังมีหุ่นยนต์ของบริษัทบาบะ เทคโคโช ที่มีมือเหมือนมือมนุษย์และสามารถหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ได้ โดยได้สาธิตการหยิบซูชิที่ทำจากขี้ผึ้งไปวางโดยไม่แตกหักเสียหาย

โรโบค๊อป (Robocop) หุ่นยนต์สำหรับจับผู้ร้าย

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่าน นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้ที่เชี่ยวชาญการพัฒนาและการสร้างหุ่นยนต์ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ต้นแบบโรโบค๊อป (Robocop) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการรักษาความปลอดภัยโดยตรง ซึ่ง Robocop จะมีอุปกรณ์หลักภายในตัวคือเซนเซอร์หรือตัวตรวจจับความร้อน พร้อมทั้งอุปกรณ์ของแขนที่สามารถเหวี่ยงตาข่ายออกไปเมื่อต้องการจับกุมคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัย

ลักษณะรูปร่างทั่วไปของหุ่นยนต์ Robocop ก็เป็นหุ่นยนต์ที่มีสี่ล้อในการขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดถึง 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะสามารถขับเคลื่อนด้วยการบังคับควบคุมด้วยผู้ควบคุมที่อยู่ในศูนย์ควบคุม และสามารถเห็นเหตุการณ์จริงภาพจริงได้จากกล้องที่ติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์ โดยภาพที่ส่งไปยังศูนย์ควบคุมเป็นสัญญาณวิดีโอจะไม่มีความล่าช้าของภาพ หรือเป็นการแสดงภาพแบบ real-time นั่นเอง มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์ Robocop ยังสามารถควบคุมการทำงานโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สั่งการทำงานได้อีกด้วยแต่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมควบคุมการทำงานเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือ


Tmsuk Co นักวิทยาศาสตร์ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ Robocop รุ่น T-34 ได้พัฒนาโครงการนี้ขั้นมาภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทผู้พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง Alacom Co ซึ่งทั้งสองได้วางเป้าหมายที่จะทำการพัฒนากองกำลังหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นกองกำลังทหาร เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร ตึก หรือศูนย์การค้าต่างๆ และในอนาคตทางทีมนักวิทยาศาตร์และบริษัทจะร่วมกันออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยในที่พักอาศัยหรือบ้านของคนอีกด้วย


ซึ่งหุ่นยนต์ Robocop ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยที่สามารถทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เป็นมนุษย์ โดยหุ่นยนต์จะสามารถอยู่ยามได้ทั้งวันทั้งคืนโดยไม่มีอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ถ้าพลังงานที่มีอยู่ในตัวไม่หมด และจะไม่มีการหลับยามเหมือนที่คนเป็น ที่สำคัญการใช้หุ่นยนต์ที่มีความสามารถมาช่วยงานในด้านการรักษาความปลอดภัยยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่ ถ้าหากคนร้ายมีการพกพาและใช้อาวุธที่เป็นอันตรายต่อชีวิต อย่างปืน เป็นต้น


หุ่นยนต์ Robocop มีความสูง 60 เซนติเมตร หนักประมาณ 12 กิโลกรัม และภายในตัวมีเซนเซอร์ที่มีไว้ตรวจจับความร้อน โดยเฉพาะความร้อนที่แผ่ออกมาจากร่างกายคนหรือสิ่งมีชีวิต พร้อมทั้งยังสามารถรับรู้ได้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นแบบไม่ชัดเจน หรือเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแบบเบาๆ


ซึ่งหุ่นยนต์ Robocop รุ่น T-34 ถือเป็นรุ่นที่พัฒนามาจากหุ่นยนต์รุ่น T7S ที่มีรูปร่างลักษณะเป็นไดโนเสาร์ Triceratops และมีการติดตั้งกล้องที่ตำแหน่งดวงตาของหุ่นยนต์ นอกจากนั้นทางบริษัทยังทำการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีไว้สำหรับการใช้งานอื่นๆอีก 30 ตัว เพื่ไว้ทำหน้าที่ในการทำความสะอาดบ้าน ทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับที่แผนกต้อนรับในสถานที่ต่างๆ หรือเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาล เป็นต้น


จุดเด่นของหุ่นยนต์ Robocop รุ่น T-34 ที่ถูกพัฒนามาล่าสุดนั้น สามารถทำการเหวี่ยงตาข่ายออกมา จากส่วนของแขนหุ่นยนต์เพื่อทำการจับกุมผู้ร้ายหรือผู้ต้องสงสัย ซึ่งสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของผู้ร้ายได้และสามารถควมคุมสภานการณ์ได้ง่ายขึ้น โดยทางผู้พัฒนาวางแผนไว้ว่า หุ่นยนต์ Robocop จะสามารถออกวางจำหน่ายสู่ตลาดได้ภายในสองสามปีข้างหน้า และราคาของหุ่นยนต์ลักษณะนี้น่าจะอยู่ที่ราวๆ 800000 เยน หรือ 6514 ปอนด์ หรือประมาณสามแสนกว่าบาทต่อตัว

หุ่นยนต์ รับแขก ในประเทศญี่ปุ่น


หุ่นยนต์ตัวนี้ปฏิบัติหน้าที่ อยู่ที่โรงพยาบาลอิซูเซ็นทรัล (Aizu Central Hospital) ในเมืองอิซุ-วาคามัทซึ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 200 กิโลเมตร ฝีมือการผลิตโดยบริษัท Tmsuk ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ของประเทศญี่ปุ่น สนนราคาตัวละ 60 ล้านเยน หรือประมาณ 18.66 ล้านบาท
หุ่นยนต์เหล่านี้มีความสูง 1.3 เมตรหรือประมาณ 4 ฟุต 4 นิ้ว สีขาวคาดเขียว สามารถรับรู้ว่ามีผู้สัญจรไป มาบริเวณรอบตัวได้เพราะ มีเซ็นเซอร์จำนวนมากฝังอยู่ภายในหุ่น

“นี่คือหุ่นยนต์ต้อนรับตัวแรก ของญี่ปุ่นที่สามารถทำงาน ในโรงพยาบาลได้จริง และเสียงตอบรับ จากผู้บริโภคที่เรียกใช้งานหุ่นยนต์ตัวนี้ก็ไปในทิศทางที่ดี” นาโอยะ นาริตะ (Naoya Narita) พนักงานของโรงพยาบาลกล่าว

หุ่นยนต์รินเบียร์

เชื่อหรือไม่ หุ่นยนต์สามารถรินเบียร์จากกระป๋อง
เปิดเผยต่อสาธารณชนในชื่อ "Geeks" หุ่นยนต์เบียร์ Asahi นี้สำหรับคอเบียร์โดยเฉพาะ

ตัวหุ่นยนต์เป็นตู้เย็นที่คุณสามารถใส่เีบียร์กระป๋องเข้าไป และรอจนมันเย็น
หุ่นยนต์รินเบียร์สัญชาติญี่ปุ่นนี้คล้ายคลึงกับ หุ่นยนต์R2D2 จากเรื่อง Star Wars

หุ่นยนต์เปิดกระป๋องเบียร์ด้วยมือหนึ่ง และรินเบียร์ใส่แก้วที่ถือด้วยอีกมือหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์เตะบอล

ที่กลมๆ ดูคล้ายหุ่นกระป๋อง เป็นหุ่นยนต์เตะบอลของทีมพลาสมา ซี สร้างขึ้นโดยนิสิตหลายสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไปคว้าตำแหน่งรองแชมป์โลกมาแล้วที่สหรัฐอเมริกา หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมหุ่นยนต์จึงกลม หัวหน้าทีมพลาสมา ซี อธิบายให้ฟังว่า เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ประเภทขนาดเล็ก (small size) ที่มีการจำกัดส่วนสูง รูปทรงแบบนี้จึงเหมาะสม เพราะวิ่งเร็ว เคลื่อนที่ได้อิสระ ยิงลูกได้แรง ยิงลูกโด่งได้ด้วย ซึ่งเป็นหุ่นยนต์เล็กเตะบอลในรายการแข่งขันที่มีความเร็วสูงสุดของโลก




การแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลที่ผ่านไปเมื่อไม่นานนี้ มีชื่อเต็มว่า “โรโบคัพ ซอคเกอร์ สมอล ไซส์ ลีค” หรือการแข่งขันหุ่นยนต์ขนาดเล็ก จุดประสงค์ของการแข่งขันก็คือ ภายในปี 2050 หรืออีก 43 ปี จะมีการแข่งขันระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์จริงๆ และไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา หากเป็นมนุษย์นักกีฬาระดับแชมป์โลกด้วย การจัดการแข่งขันหุ่นยนต์เตะบอลขึ้นมาก็เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีความสามารถเทียบเคียงกับมนุษย์จริงๆ ซึ่งในการเข้าร่วมแข่งขันนั้น นอกจากทีมพลาสมา ซี จะได้อาจารย์ นิสิต ที่ร่วมกันวางแผนงาน ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการเป็นสปอนเซอร์ เช่น บริษัท ซีเกท บริษัท เอ็มเอฟอีซี เป็นต้น เพื่อทำให้การก้าวสู่เวทีโลกเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา และทีมพลาสมา ซี ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง




สำหรับหุ่นยนต์เตะบอลของทีมพลาสมา ซี เป็นระบบออโตเมติก มิได้บังคับด้วยมนุษย์ หุ่นยนต์วิ่งไปด้วยความคิดของตัวเองว่าต้องวิ่งไปตรงไหน ต้องทำอะไร ความคิดหรือสมองของหุ่นยนต์เกิดจากการกำหนดลักษณะการเล่น หรือเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เมื่อถึงเวลา คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่ถูกเขียน ส่วนกติกาการแข่งขันก็จำลองให้ใกล้เคียงกับการแข่งขันจริง มีทั้งลูกตั้งเตะ ลูกมุม ลูกฟรีคิก ลูกจุดโทษ ฯลฯ




“ระบบการทำงานของหุ่นยนต์เริ่มจาก มีกล้องตัวหนึ่งที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของสนาม ทำหน้าที่รับตำแหน่ง แล้วส่งรายงานไปตามสายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เสมือนดวงตาของหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะประมวลผลตำแหน่ง ทิศทางของหุ่นยนต์ แล้วส่งไประบบคอมพิวเตอร์อีกตัวที่เรียกวิชัน (vision) วิชันส่งไปยังเอไอ (artificial intelligent) ซึ่งเป็นระบบคิด เช่น ในสนาม มีหุ่นยนต์อยู่ในตำแหน่งต่างๆ จะเล่นเกมออกมาในลักษณะใด ตัวนั้นควรวิ่งไปตรงโน้น ตัวนี้ควรเตะลูกบอล ฯลฯ” ตัวแทนของทีมเล่าให้ฟัง


นับเป็นอีกก้าวของเด็กไทยและหุ่นยนต์ไทย ที่ได้ประกาศศักดิ์ศรีได้อย่างสวยงาม ซึ่งขอเป็นกำลังใจเพื่อก้าวต่อไปสำหรับโลกหุ่นยนต์ที่จะไปสู่การแข่งขันด้านการกีฬากับมนุษย์ได้ ถึงเวลานั้นคงน่าสนุกไม่ใช่น้อย

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Robot Thailand

หุ่นยนต์กู้ภัย-หุ่นยนต์เตะฟุตบอล"ฝีมือเด็กไทยคว้าแชมป์ระดับโลกอีกปี
เด็กไทยสร้างชื่อในวงการหุ่นยนต์ขึ้นอีกครั้ง สามารถคว้าแชมป์โลก 2 รายการ คือ หุ่นยนต์กู้ภัยและหุ่นยนต์เตะฟุตบอล ในการแข่งขัน World Robo Cup 2010 หรือการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 ที่ปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-24 มิ.ย. ชัยชนะดังกล่าวถือว่าเป็นการป้องกันแชมป์ของประเทศไทย
สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกปีนี้มีการแข่งขันแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ หุ่นยนต์เตะฟุตบอล (RoboCup Soccer) หุ่นยนต์กู้ภัย (RoboCup Rescue) หุ่นยนต์ทำงานบ้าน (RoboCup @Home) และหุ่นยนต์ระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี (RoboCup Junior) มีผู้สมัครเข้าแข่งขันรวมทุกประเภทกว่า 3,000 คน จากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
ประเภททีมหุ่นยนต์กู้ภัย ปรากฏว่าทีมจากเยาวชนไทย iRAP_PRO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สร้างชื่อก้องโลกอีกครั้ง ครองแชมป์โลกติดต่อกัน 2 ปีซ้อน รักษาแชมป์โลกให้ประเทศไทยได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 5 ในการแข่งขัน ด้วยผลงานโดดเด่นโดนใจผู้ชมทั้งสนาม ทำคะแนนนำตลอดตั้งแต่รอบคัดเลือกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ พร้อมทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดลและเทคโนโลยีราชมงคล ครองอันดับ 2 ร่วมกัน ออสเตรเลียและญี่ปุ่นรั้งอันดับ 4 และ 5
นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี ในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทีมเยาวชนไทย iRAP_PRO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถคว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยได้อย่างสมศักดิ์ศรีเป็นปีที่ 2 นับเป็นการรักษาแชมป์โลกให้ประเทศไทยได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 5 ในเวทีหุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก โดย iRAP_PRO ทำคะแนนนำตลอดทุกรอบการแข่งขัน รวม 740 คะแนน
ส่วนทีม BART LAB Rescue จากมหาวิทยาลัยมหิดล และทีม Success มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา มีคะแนนรวมเท่ากัน 530 คะแนน ครองอันดับ 2 ร่วมกัน ทีม CASualty จากประเทศออสเตรเลีย ตามมาเป็นอันดับ 4 พร้อมคว้ารางวัลพิเศษ หุ่นยนต์อัตโนมัติยอดเยี่ยม และหุ่นยนต์บังคับมือยอดเยี่ยม สำหรับทีม PELICAN UNITED จากประเทศญี่ปุ่น ครองอันดับ 5 พร้อมคว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม
"ในฐานะผู้สนับสนุน เอสซีจีรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จในครั้งนี้ เพราะต่างชาติทึ่งและยอมรับในความสามารถของเยาวชนไทยมากขึ้น" ผอ.ฝ่ายสื่อสารองค์กร เอสซีจี กล่าว
ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันนี้ แสดงถึงศักยภาพของเยาวชนไทยอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญที่ทำให้เยาวชนไทยทั้ง 3 ทีม ทำคะแนนอยู่ในอันดับต้นๆ และสามารถชนะทีมต่างชาติได้ คือ การเตรียมความพร้อมเต็มที่ก่อนแข่งขัน
"การเป็นแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลกเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่การรักษาแชมป์โลกสมัยที่ 5 เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เพราะคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ มีความสามารถและความพร้อมสูง ทั้งยังเป็นประเทศผู้นำเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย และอิหร่าน และทีมเหล่านี้ได้ให้ความสนใจบันทึกภาพและข้อมูลทีมไทยเพื่อนำไปศึกษาด้วย ทางสมาคมฯ รู้สึกภูมิใจในความสามารถเด็กไทยอย่างมาก และจะต่อยอดการพัฒนาหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานด้านต่างๆ ในอนาคตต่อไป" ผศ.ดร.จักรกฤษณ์กล่าว
ด้านนายคฑาวุฒิ อุชชิน หรือน้องโฟม หัวหน้าทีม iRAP_PRO นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจหลังได้รับชัยชนะว่า พวกเราทุ่มเทและเตรียมความพร้อมก่อนแข่งขันมากกว่า 6 เดือน โดยทีมงานได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันเป็นอย่างดี ทำให้สามารถทำงานภายในเวลาอันสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนตัวเขาทำหน้าที่เป็นผู้บังคับหุ่นยนต์
"ความยากอยู่ที่เราไม่สามารถมองเห็นหุ่นยนต์โดยตรง ต้องมองจากกล้องซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูง แต่เราได้ฝึกซ้อมอย่างจริงจังและสม่ำเสมอจึงทำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ การแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้มุ่งหวังชัยชนะเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญคือประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน และความรู้เพิ่มเติมที่ได้จากการแลกเปลี่ยนกับทีมต่างชาติ หลังจากนี้ก็จะมีรุ่นน้องมาสานต่อองค์ความรู้และพัฒนาสมรรถนะหุ่นยนต์ให้ดีและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น" น้องโฟมกล่าว
สำหรับการแข่งขันในประเภทหุ่นยนต์กู้ภัย มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 27 ทีมจาก 12 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย อิหร่าน จีน เม็กซิโก มาเลเซีย สิงคโปร์ ปากีสถาน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทย โดยเอสซีจีสนับสนุน 2 ทีมเยาวชนไทย ได้แก่ ทีม BART LAB Rescue มหาวิทยาลัยมหิดล (แชมป์ประเทศไทย ปี 2552) และทีม iRAP_PRO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (แชมป์ประเทศไทย ปี 2551 และแชมป์โลก ปี 2552)
สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลระดับโลกรุ่นหุ่นยนต์ระดับเล็ก ที่แข่งพร้อมกันที่สิงคโปร์ มีรายงานล่าสุดว่า ทีม SKUBA จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จตามความคาดหมาย ประกาศศักดาเป็นแชมป์โลก 2 สมัยซ้อนอย่างสวยงามโดยมีผู้ร่วมเข้าแข่งขัน 10 ประเทศ รวม 18 ทีม
ทีม SKUBA แชมป์โลก ปี 2009 สามารถโค่นทีมคู่แข่งจากประเทศมหาอำนาจด้านเทคโนโลยี และแชมป์โลก 4 สมัย ซีเอ็มดรากอน สหรัฐอเมริกา ด้วยคะแนน 6 ประตูต่อ 1 คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก หรือรุ่นสมอลล์ไซส์ลีก ได้เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนตำแหน่งรองชนะเลิศเป็นของทีมซีเอ็มดรากอน จากสหรัฐอเมริกา และที่ 3 ทีม MRL จากอิหร่าน.



อาซิโม (อังกฤษ: ASIMO) (ญี่ปุ่น: アシモ ashimo ?) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[1] พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนี โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต

บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนิยามของชื่อ ASIMO ว่าย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย[2] ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ (アジモフ) นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด แม้ว่าชื่อในภาษาญี่ปุ่นของอาซิโมและอสิมอฟจะสะกดใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า อะชิโมะ (ญี่ปุ่น: 脚も ashimo ?) ที่แปลว่า "มีขาด้วย"

อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี (P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น

ประวัติหุ่นยนต์


หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน

หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า[1]

ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่[2] หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต

ในสมัยก่อนหุ่นยนต์เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์ ที่มีความต้องการได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาช่วยในการผ่อนแรงจากงานที่ทำ หรือช่วยในการปฏิบัติงานที่ยากลำบากเกินขอบเขตความสามารถ และจากจินตนาการได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์หุ่นยนต์ขึ้นมา จนกลายเป็นหุ่นยนต์หรือ Robot ในปัจจุบัน

คำว่า Robot มาจากคำว่า Robota ในภาษาเช็ก ซึ่งแปลโดยตรงว่า การทำงานเสมือนทาส ถือกำเนิดขึ้นจากละครเวทีเรื่อง "Rassum's Universal Robots" ในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ คาเวล คาเปก (Kavel Capek) เนื้อหาของละครเวทีมีความเกี่ยวพันกับจินตนาการของมนุษย์ ในการใฝ่หาสิ่งใดมาช่วยในการปฏิบัติงาน การประดิษฐ์คิดค้นสร้างหุ่นยนต์จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเสมือนทาสคอยรับใช้มนุษย์ การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ดำเนินต่อไปจนกระทั่งหุ่นยนต์เกิดมีความคิดเช่นเดียวกันมนุษย์ การถูกกดขี่ข่มเหงเช่นทาสจากมนุษย์ทำให้หุ่นยนต์เกิดการต่อต้านไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างอีก ซึ่งละครเวทีเรื่องนี้โด่งดังมากจนทำให้คำว่า Robot เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ในปี ค.ศ. 1942 คำว่า robot ได้กลายเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อ ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ได้เขียนเรื่องนวนิยายสั้นเรื่อง Runaround ซึ่งได้ปรากฏคำว่า robot ในนิยายเรื่องนี้ และต่อมาได้นำมารวบรวมไว้ในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง I-Robot ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำความรู้จักกับคำว่า Robot เป็นครั้งแรกจากนวนิยายเรื่องนี้ หุ่นยนต์จึงกลายเป็นจุดสนใจและเป็นแนวคิดและจินตนาการของนักวิทยาศาสตร์ ในการคิดค้นและประดิษฐ์หุ่นยนต์ในอนาคต

สมัยโบราณการดูเวลาจะใช้นาฬิกาแดด เป็นเครื่องบ่งชี้เวลาแต่สามารถใช้ได้เพียงแค่เวลากลางวันเท่านั้น นาฬิกาทรายจะใช้บอกเวลาในเวลากลางคืน จึงได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องจักรกลสำหรับบอกเวลาให้แก่มนุษย์คือ นาฬิกาน้ำ (Clepsydra) โดย Ctesibiua of Alexandria นักฟิสิกส์ชาวกรีกในปี 250 ก่อนคริสตกาล นาฬิกาน้ำนี้ใช้บอกเวลาแทนมนุษย์ที่แต่เดิมต้องบอกเวลาจากนาฬิกาแดดและนาฬิกาทราย โดยใช้พลังงานจากการไหลของน้ำ เป็นตัวผลักทำให้กลไกของนาฬิกาน้ำทำงาน และถือเป็นเครื่องจักรเครื่องแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับทำงานแทนมนุษย์ และเมื่อมนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า ความคิดสร้างสรรค์ในการควบคุมเครื่องจักรโดยไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าก็เริ่มขึ้น Nikola Tesia เป็นบุคลแรกที่สามารถใช้คลื่นวิทยุในการควบคุมหุ่นยนต์เรือขนาดเล็กในกรุงนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 1898 ภายในงานแสดงผลงานทางด้านไฟฟ้า

ปี ค.ศ. 1940 - 1950 หุ่นยนต์ชื่อ Alsie the Tortoise ได้ถือกำเนิดขึ้นโดย Grey Walter หุ่นยนต์รูปเต่าสร้างจากมอเตอร์ไฟฟ้านำมาประกอบเป็นเครื่องจักร สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อทั้ง 3 ต่อมาหุ่นยนต์ชื่อ Shakey ได้ถูกสร้างขึ้นให้สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับ Alsie the Tortoise โดย Standford Research Institute:SRI แต่มีความสามารถเหนือกว่าคือมีความคิดเป็นของตนเองโดยที่ Shakey จะมีสัญญาณเซนเซอร์เป็นเครื่องบอกสัญญาณในการเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาด้วยล้อแล้ว ในปี ค.ศ. 1960 หุ่นยนต์ที่ชื่อ General Electric Walking Truck ที่สามารถเดินได้ด้วยขาก็ถือกำเนิดขึ้น มีขนาดโครงสร้างใหญ่โตและหนักถึง 3,000 ปอน์ด สามารถก้าวเดินไปด้านหน้าด้วยขาทั้ง 4 ข้างด้วยความเร็ว 4 ไมล์/ชั่วโมงโดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการเคลื่อไหนของขา General Electric Walk Truck ได้รับการพัฒนาโครงสร้างและศักยภาพโดยวิศวกรประจำบริษัท General Electric ชื่อ Ralph Moser

ภายหลังจากที่หุ่นยนต์เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทความสำคัญในด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ โรงงานอุตสาหกรรมเริ่มมีความคิดใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์เดิม หุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรมตัวแรกที่ชื่อ Unimates ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1950 - 1960 โดย George Devol และ Joe Engleberger ซึงต่อมา Joe ได้แยกตัวออกมาจาก George โดยเปิดบริษัทสร้างหุ่นยนต์ในชื่อของ Unimation ซึ่งต่อมาผลงานในด้านหุ่นยนต์ของ Joe ได้รับสมญานามว่า "บิดาแห่งหุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรม