บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา อินเตอร์เน็ตมนชีวิตประจำวัน (00012006)กลุ่มเรียนที่ 20 วันศุกร์ เวลา 13.00 - 15.30 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์ดาวินชี่

เมื่อหุ่นยนต์ช่วยชีวิตคน....
เคยได้ยินไหมว่า หุ่นยนต์ผ่าตัดรักษาชีวิตคนได้.......
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวล้ำไปไกล มีอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มากมายมาช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ด้านต่างๆ
อย่างการผ่าตัด เมื่อก่อนต้องอาศัยหมอผู้ชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ คุณหมอเองก็มีตัวช่วยเป็นหุ่นยนต์ในการรักษาคน

ดาวินชี่..เครื่องจักรกลราคาประมาณ 1 ล้านปอนด์

ดาวินชี เป็นเครื่องจักรกลราคาประมาณ 1 ล้านปอนด์ของโรงพยาบาลกายส์ (Guy's Hospital) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นหนึ่งในหุ่นยนต์ผ่าตัดบนเกาะอังกฤษที่มีอยู่เพียง 2 ตัว ได้ปฏิบัติภารกิจครั้งแรกที่แสนละเอียดอ่อน อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยแขนกลทั้ง 2 ข้างนำ ไต ออกจากร่างของพอลลีน เพย์น (Pauline Payne) และนำไปใส่ให้กับเรย์มอนด์ แจ็กสัน (Raymond Jackson) คู่หมั้นของเธอที่กำลังป่วยหนัก ก่อนหน้านี้ หุ่นยนต์ดาวินชีเคยลงมือปฏิบัติการผ่าตัดมาแล้ว บนเกาะอังกฤษ โดยได้เคลื่อนย้ายอวัยวะที่เจ็บป่วยออกมาจากร่างกายและศัลยกรรมกลับคืน แต่การปลูกถ่ายไตนับเป็นของใหม่ ซึ่ง โพรการ์ ดาสกุปตา (Prokar Dasgupta) ผู้นำทีมที่ปรึกษาศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะของโรงพยาบาลกายส์ได้เรียกใช้บริการ ดาวินชี เป็นครั้งแรก และนับว่าเป็นการปลูกถ่ายอวัยวะโดยหุ่นยนต์เป็นครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ

หลายๆคนจะรู้จัก "ดาวินชี่" หรือ "Da Vinci Surgical System" ในนามของ "หุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจ" ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของศัลยแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมการใช้จนเกิดความชำนาญ โดยมีแขนดาวินชี่เปรียบเสมือนมือผ่าตัดที่ต้องอาศัยการควบคุมโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมืองไทยก็มี หมอหุ่นยนต์..ดาวินชี่

ในโรงพยาบาลหลายแห่งมีการนำหุ่นยนต์ดาวินชี่ไปใช้ในกระบวนการผ่าตัดรักษาคนไข้ ซึ่งโรงพยาบาลในเมืองไทยก็ไม่ล้าหลังกว่าใครเขา มีการเอาเข้ามาใช้แล้วเหมือนกันครับ เช่น โรงพยาบาลศิริราช นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรงพยาบาลกรุงเทพใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัดหัวใจ
นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ เล่าให้ฟังว่า ทางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์ดาวินชี่เข้ามาช่วยในการผ่าตัดหัวใจผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางโรงพยาบาลเริ่มใช้ "ดาวินชี่" เข้ามาช่วยในการผ่าตัดหัวใจผู้ป่วย ซึ่งหุ่นยนต์นี้มีข้อดีทำให้สะดวก และ ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
"การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ทำให้ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยและลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด รวมทั้งสามารถลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด สามารถรับประทานอาหารได้ในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตเป็นปกติและพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเป็นเวลา ประมาณ 5 วัน ก็สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านต่อได้”
หุ่นยนต์ดาวินชี่..ไม่ใช่แค่ผ่าตัดหัวใจยังสามารถใช้ประโยชน์ในการผ่าตัดช่องท้องในโรคที่เกิดกับอวัยวะภายในหลายๆ ส่วน เช่น ถุงน้ำดี ลำไส้ กระเพาะ ต่อมหมวกไตและต่อมลูกหมาก ซึ่งนพ.ชาตรี ดวงเนตรได้กล่าวว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทำความเข้าใจและให้ข้อมูลก่อนการผ่าตัดมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรู้และมีโอกาสเลือกวิธีการผ่าตัดตามความเห็นชอบด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ดาวินชี่อาจสูงกว่าการผ่าตัดแบบปกติบ้างเล็กน้อย แต่จะช่วยผู้ป่วยลดค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดได้มาก เช่น ใช้ยาน้อยลง จำนวนวันที่พักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้วก็ไม่สูงกว่ากัน

หลักการทำงานและส่วนประกอบต่างๆของหุ่นยนต์ดาวินชี่

หุ่นยนต์ดาวินชี่ ประกอบด้วย 4 แขน แต่ละแขนมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.5 เซนติเมตรแขนที่ 1 เป็นกล้องสำหรับส่องเข้าไปเห็นภายในระบบหัวใจได้ลึกและชัดเจน ทำให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นหัวใจของผู้ป่วยผ่านแขนข้างนี้ ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการผ่าตัด โดยสั่งการการเคลื่อนไหวหุ่นยนต์จากแผงควบคุมภายนอก ซึ่งควบคุมแขนอีก 3 แขนที่เหลือที่ทำหน้าที่เป็นคีม และกรรไกรขนาดจิ๋วที่หมุนได้รอบ ทิศทาง ทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างแม่นยำกว่ามือคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น